หัวข้อเปรียบเทียบนโยบายข้าวจากยุคอภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ ถึง คสช. นโยบายใดโดนใจนักเศรษฐศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์ 63.9% ให้นโยบายลดต้นทุนการผลิตของ คสช. เหนือ
นโยบายประกันรายได้เกษตรกรในยุคอภิสิทธิ์ และนโยบายจำนำข้าวในยุคยิ่งลักษณ์
ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์เพียง 13.9% และ 1.4% ตามลำดับ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 34 แห่ง
จำนวน 72 คน เรื่อง “เปรียบเทียบนโยบายข้าวจากยุค อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ ถึง คสช.
นโยบายใดโดนใจนักเศรษฐศาสตร์”
โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 – 28 กรกฎาคม 2557
ที่ผ่านมา พบว่า
 
                  นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.9 ให้นโยบายลดต้นทุนการผลิต(ข้าว) ของ คสช.
เหนือ นโยบายประกันรายได้เกษตรกรในยุคนายกฯ อภิสิทธิ์ และนโยบายจำนำข้าวในยุค
นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์เพียงร้อยละ 13.9 และร้อยละ
1.4 ตามลำดับ
 
                  เมื่อพิจารณาจากประเด็นการประเมินใน 5 ด้านพบว่านโยบายลดต้นทุนการผลิต
ของ คสช. ได้รับการประเมินที่เหนือกว่านโยบายประกันรายได้เกษตรกร และ นโยบายจำนำข้าว
ในทุกประเด็นโดยเฉพาะประเด็นการเป็นภาระต่อต้นทุนทางการคลังน้อย(ร้อยละ 58.3 บอกว่า
ใช่) การสะท้อนกลไกราคา(ร้อยละ 56.9) ถัดมาเป็นประเด็นการเอื้อให้เกิดการพัฒนาผลิตภาพ
การผลิต(ร้อยละ 41.7) การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น(ร้อยละ 41.7) และประเด็นชาวนา
ได้รับสิทธิ์ทั่วถึง และเท่าเทียม(ร้อยละ 40.3)
 
                  นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายลดต้นทุนการผลิตข้าวของ
คสช. ดังนี้

  อันดับ 1 ต้องให้ความสำคัญกับการตลาด การขยายตลาด ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต
            รวมถึงควรดูแลกลไกตลาดให้มีการทำงานอย่างที่ควรจะเป็นเพื่อป้องกันพ่อค้า
            คนกลางเอาเปรียบชาวนา
  อันดับ 2 การดำเนินนโยบายลดต้นทุนต้องทำพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
            (Productivity) อย่างจริงจังและเห็นผลเป็นรูปธรรม ด้วยการทำ zoning
            พื้นที่เกษตร การปรับปรุงคุณภาพข้าว การปรับปรุงระบบชลประทาน
            การปรับปรุงคุณภาพดิน
  อันดับ 3 บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ของเกษตรกร หลักเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับสถาบัน
            การศึกษา ผู้แปรรูปสินค้า ภาคอุตสาหกรรม แล้วถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าว
            ให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
            1. เปรียบเทียบนโยบายข้าวจากยุคอภิสิทธ์ ยิ่งลักษณ์ ถึง คสช.
 
 
 
             2. ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายลดต้นทุนการผลิตข้าวของ คสช.

อันดับ
 
อันดับ 1
ต้องให้ความสำคัญกับการตลาด การขยายตลาด ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ คสช.
ควรดูแลกลไกตลาดให้มีการทำงานอย่างที่ควรจะเป็นเพื่อป้องกันพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบชาวนา
รวมถึงการชดเชยราคาในกรณีที่ราคาผลผลิตตกต่ำหรือพืชผลประสบภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด
จนกระทบต่อชีวิตของชาวนา
อันดับ 2
การดำเนินนโยบายลดต้นทุนต้องทำพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity)
อย่างจริงจังและเห็นผลเป็นรูปธรรม ด้วยการทำ zoning พื้นที่เกษตร การปรับปรุงคุณภาพข้าว
การปรับปรุงระบบชลประทาน การปรับปรุงคุณภาพดิน
อันดับ 3
บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ของเกษตรกร หลักเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับสถาบันการศึกษา
ผู้แปรรูปสินค้า ภาคอุตสาหกรรม แล้วถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
อันดับ 4
การดำเนินโครงการต้องทั่วถึง เป็นธรรม ไม่มีคอร์รัปชั่น ตรวจสอบได้ และต้องป้องกันการกักตุนปุ๋ย
สารเคมีเพื่อการเก็งกำไร นอกจากนี้การดำเนินโครงการนี้ควรคลอบคลุมพืชสวน และพืชไร่ด้วย
อันดับ 5
อื่นๆ ได้แก่ ต้องวัดผลสัมฤทธ์ของโครงการได้เป็นรูปธรรม ลดการใช้ปุ๋ยจากต่างประเทศ นำโครงการ
ปุ๋ยแห่งชาติกลับมาดำเนินการใหม่ นโยบายนี้ต้องดำเนินการเพียงชั่วคราว ควรมีมาตราการเสริมอื่นๆ
เพื่อให้ตลาดสมบูรณ์ขึ้น รวมถึงการเข้าไปแทรกแซงกลไกราคาให้น้อยที่สุด
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อนโยบายข้าวใน 3 นโยบายของรัฐบาลชุดต่างๆ ว่านโยบายใด
เป็นนโยบายที่ดี แต่ละนโยบายมีจุดอ่อนจุดแข็งในประเด็นใด รวมถึงข้อเสนอแนะต่อ คสช. ในการดำเนินนโยบายลดต้นทุน
การผลิต เพื่อข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้าน
เศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำ
ของประเทศ จำนวน 34 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคาร
เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต
คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์
และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  16 – 28 กรกฎาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 30 กรกฎาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
31
43.1
             หน่วยงานภาคเอกชน
26
36.1
             สถาบันการศึกษา
14
20.3
รวม
72
100.0
เพศ:    
             ชาย
43
59.7
             หญิง
29
40.3
รวม
72
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.4
             26 – 35 ปี
16
22.2
             36 – 45 ปี
29
40.3
             46 ปีขึ้นไป
26
36.1
รวม
72
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.6
             ปริญญาโท
45
62.5
             ปริญญาเอก
23
31.9
รวม
72
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
10
13.8
             6 - 10 ปี
21
29.2
             11 - 15 ปี
13
18.1
             16 - 20 ปี
11
15.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
17
23.6
รวม
72
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776